แม่อายเดินหน้าสู่มาตรฐาน SDG&PGS
วันที่ 18 มีนาคม 2563 นายพิชิต ไชยทา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางจินห์นิภา จันที นักวิจัยอิสระ/อดีตผู้ผอำนวยการกองแผนงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่ดำเนินเพื่อพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบ มีส่วนร่วม ภายใต้โครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันนักเรียนและชุมชนเชียงใหม่สู่เกษตรอินทรีย์ ที่กลุ่มเครือข่ายสภาเกษตรกรอำเภอแม่อาย ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบเกษตรอินทรีย์ เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ และยกระดับกลุ่มเกษตรกร ด้านการผลิตสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และเพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการผลิตสู่เกษตรอินทรีย์ ตลอดจนข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) โดยมีนายสุรินทร์ อะโน ประธานกลุ่มกล่าวต้อนรับและบรรยายถึงการดำเนินงานของกลุ่มพร้อมทั้งพาคณะเยี่ยมชมแปลงผลิตพืชผักอินทรีย์ที่เข้าร่วมโครงการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)
นายพิชิต ไชยทา กล่าวว่า สภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเป็นตัวกลางเพื่อบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนภาคเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งต้อคือปลายน้ำ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เกษตรกรมีรายได้ที่มั่งคงพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพผลผลติสู่โครงการอาหารกลางวันนักเรียนเชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นใช้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในในการจัดทำอาหาร เพื่อสุขภาพของนักเรียนและช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้มีแหล่งจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง
จากนั้น นายอัฒมาส ชนะ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่ ได้บรรยายเรื่อง การพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และหลักปฏิบัติเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน SDGsPGห และแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์การผลิตและกำหนดเป้าหมายเพื่อนำไปสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
นายสุรินทร์ อะโน ได้พาคณะทำงานทุ้งหมดเข้าเยียมชมแปลงปลูกที่เข้าร่วมโครงการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ซึ่งมีพืชหลากหลาย อาทิ เห็ดหลินจือ เห็ดโคน หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
นายพิชิต ไชยทา กล่าวว่า สภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเป็นตัวกลางเพื่อบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนภาคเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งต้อคือปลายน้ำ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เกษตรกรมีรายได้ที่มั่งคงพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพผลผลติสู่โครงการอาหารกลางวันนักเรียนเชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นใช้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในในการจัดทำอาหาร เพื่อสุขภาพของนักเรียนและช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้มีแหล่งจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง
จากนั้น นายอัฒมาส ชนะ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่ ได้บรรยายเรื่อง การพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และหลักปฏิบัติเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน SDGsPGห และแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์การผลิตและกำหนดเป้าหมายเพื่อนำไปสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
นายสุรินทร์ อะโน ได้พาคณะทำงานทุ้งหมดเข้าเยียมชมแปลงปลูกที่เข้าร่วมโครงการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ซึ่งมีพืชหลากหลาย อาทิ เห็ดหลินจือ เห็ดโคน หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น