กฎบัตร มาตรฐาน ตัวชี้วัตสมาร์ทฟาร์ม
วันที่ 4 มีนาคม 2563 ที่ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายสมหมาย คำมาสาร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้นายชัยชนะ คิอินธิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมมาตรฐานและตัวชี้วัดสมาร์ทฟาร์มและอาหารปลอดภัย ยกระดับมาตรฐานทางกายภาพเมือง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถ นำไปสู่การปรับปรุงฟื้นฟูเศรษฐกิจในอนาคต สมาคมการผังเมืองไทย ร่วมกับคณะผู้วิจัย คณะกรรมการกฎบัตรแห่งชาติ และคณะกรรมการกฎบัตรเชียงใหม่ จัดประชุมมาตรฐานและตัวชี้วัดสมาร์ทฟาร์ม และอาหารปลอดภัย ในโครงการวิจัย “การพัฒนากลไกเชิงพื้นที่ในการพัฒนาเมือง โดยออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาด เพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจและสังคม ระยะที่ 2” โดยมี นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก การเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่น ตามนโยบายของรัฐบาลและเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีผู้แทนเครือข่ายสมาร์ทฟาร์ม ผู้แทนเครือข่ายตลาดอาหารปลอดภัย และผู้แทนสถาบันการศึกษาด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัยจังหวัดเชียงใหม่
“กฎบัตรเมือง” (City Charter) เป็นรูปแบบการพัฒนาเมืองในรูปแบบใหม่ ที่ได้กำหนด
เจตนารมณ์ วิสัยทัศน์ เป้าหมายการพัฒนา รวมทั้งการจัดทำแผนปฏิบัติการ การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับมาตรฐานทางกายภาพเมือง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจให้ภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมกันรับผิดชอบภารกิจในการขับเคลื่อนการพัฒนา ทั้งนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจท้องถิ่น ได้มีการพัฒนา “กฎบัตรอาหาร” (Thailand Food Charter) ขึ้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา พร้อมการออกแบบสมาร์ฟาร์ม จำนวน 80 แห่ง โดยได้เริ่มนำร่องการพัฒนาใน 3 พื้นที่แล้ว ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดภูเก็ต
การจัดประชุมในวันนี้ เป็นการนำผลการศึกษามาตรฐานสมาร์ทฟาร์ม และอาหารปลอดภัย เน้นมาตรฐาน Internationnal Food Standards พร้อมข้อเสนอตัวชี้วัดสมาร์ทฟาร์มของกฎบัตรแห่งชาติ รวมถึงเผยแพร่และกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อเครือข่าย กฎบัตรอาหารร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายทางวิชาการด้านกฎหมายและข้อกำหนดการ การบรรยายเจตนารมณ์การพัฒนากฎบัตรอาหาร และการปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน ที่มีความเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ ตลาด และความต้องการสังคม