จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมเป็นเกษตร 4.0 ต สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมเป็นเกษตร 4.0 ต สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.30 น. ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ นายสมหมาย คำมาสาร ประธานสาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้นายพิชิต ไชยทา หัวหน้าสำนักงานพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่จัดทำแผนแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2562 ของตำบลดอนเปา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยมีนายไมตรี วงศ์เลิศ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เขตอ.แม่ริม กล่าวรายงาน และได้รับเกรียติจากนายทนง บุญสุข รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง เป็นประธานการประชุมในครั้งนี้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนระดับตำบลมีแผนพัฒนาเกษตรกรรมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาความต้องการของเกษตรกร และพัฒนาความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถจัดทำแผนพัฒนาร่วมกันในรูปแบบของการจัดการตนเองนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเกษตร โดยบูรณาการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป พร้อมทั้งการตลาด ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกันในด้านเกษตรกรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์และสามารถปฏิบัติได้จริง นำไปกำหนดนโยบายให้ตรงตามความต้องการ ของเกษตรกรและสอดรับกับนโยบายภาครัฐ จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์และกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร และทุกภาคส่วน
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.30 น. ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ นายสมหมาย คำมาสาร ประธานสาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้นายพิชิต ไชยทา หัวหน้าสำนักงานพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่จัดทำแผนแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2562 ของตำบลดอนเปา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยมีนายไมตรี วงศ์เลิศ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เขตอ.แม่ริม กล่าวรายงาน และได้รับเกรียติจากนายทนง บุญสุข รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง เป็นประธานการประชุมในครั้งนี้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนระดับตำบลมีแผนพัฒนาเกษตรกรรมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาความต้องการของเกษตรกร และพัฒนาความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถจัดทำแผนพัฒนาร่วมกันในรูปแบบของการจัดการตนเองนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเกษตร โดยบูรณาการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป พร้อมทั้งการตลาด ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกันในด้านเกษตรกรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์และสามารถปฏิบัติได้จริง นำไปกำหนดนโยบายให้ตรงตามความต้องการ ของเกษตรกรและสอดรับกับนโยบายภาครัฐ จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์และกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร และทุกภาคส่วน