ประชุมสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1/2560 สภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
ประชุมสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1/2560 สภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สภาเกษตรกรเชียงใหม่ได้จัดประชุม สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1/2560 โดยมีนายสมหมาย คำมาสาร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในการประชุม ซึ่งได้แจ้งต่อที่ประชุมทราบพร้อมทั้งพิจารณาร่วมกันตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
เรื่องที่ 1 ประกาศผลการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด
เรื่องที่ 2 การเช่าสถานที่ปฏิบัติงานของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 3 รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติงาน “การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างเป็นระบบจังหวัดเชียงใหม่ และสภาเกษตรกรจังหวัดภาคเหนือ
ในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ กำหนดระยะเวลา 2 วัน โดยแบ่งเป็นการบรรยายให้ความรู้ การนำเสนอปัญหาอุปสรรคในการประสานแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของสภาเกษตรกร 17 จังหวัด และการจัดทำข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ดังนี้
1. วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 เป็นการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
1.1 แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและผู้ยากจน โดยผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.2 แนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดย พ.ต.ท.วิชัย สุวรรณประเสริฐ เลขานุการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม
1.3 กระบวนการไกล่เกลี่ยและการชะลอการบังคับคดี โดยสำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่
1.4 การบริหารจัดการหนี้นอกระบบ ตามนโยบายประชารัฐ โดยนายสุชาติ นิตยพงศ์ชัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการหนี้สินนอกระบบ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
1.5 การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยนายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
1.6 การแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” โดยนายพงศธร ศรีชัย นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาหนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์
และนำเสนอปัญหาอุปสรรคในการประสานแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของสภาเกษตรกร 17 จังหวัดภาคเหนือ
2. วันที่ 20 กรกฎาคม 2560 จัดทำข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรเสนอต่อคณะกรรมการ ดังนี้
- คณะกรรมการประสานการแก้ไขหนี้สินเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีดร.อำนวย ปะติเส ประธานคณะกรรมการประสานการแก้ไขหนี้สินเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับฟังข้อเสนอการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
- คณะกรรมการประสานการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และคณะกรรมการ รับฟังข้อเสนอการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและมีข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร จำนวน 5 เรื่อง ดังต่อไปนี้
1) ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรประเภทกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2) ขอเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2546 ข้อ 6 (ง) เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งผู้กู้ยืมได้นำที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันทำสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อมีพฤติการณ์ว่า สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจะหลุดเป็นของเจ้าหนี้ หรือบุคคลอื่นในที่สุด โดยขอปรับเป็น “เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งผู้กู้ยืมได้นำที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันทำสัญญากู้ยืมเงินเมื่อมีพฤติการณ์ว่า สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจะหลุดเป็นของเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นในที่สุด หรือหนี้จากการกู้ยืมที่ใช้บุคคลค้ำประกันและมีการยึดที่ดินของบุคคลค้ำประกันมาชำระหนี้ดังกล่าว”
3) ขอเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แก้ไขหลักเกณฑ์กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ให้ผู้ค้ำประกันเป็นเสมือนผู้กู้กรณีถูกฟ้องร้องบังคับคดีขายทอดตลาดแล้ว เพื่อให้สามารถได้รับการช่วยเหลือจาก กชก. ได้
4) เสนอให้มีกลไกคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนประจำตำบล เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรระดับตำบล โดยขอให้ยุติธรรมจังหวัด ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยและประสานการแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับตำบล
5) เสนอแผนการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร (อัฐยายซื้อขนมยาย)
เรื่องที่ 4 การบูรณาการระหว่างศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)กับสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 7 การประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 7 การขึ้นทะเบียนสิ่งล่วงล้ำแหล่งน้ำกับกรมเจ้าท่า
เรื่องที่ 8 พิจารณาให้ความเห็นชอบจัดตั้งศูนย์ประสานการแก้ไขหนี้สินของเกษตรกรอย่างเป็นระบบของสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 9 พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตลำไยตกต่ำ ปีการผลิต 2560
เรื่องที่ 10 พิจารณามอบหมายให้สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ประสานเรื่อง เกษตรกรตำบลบ้านแอ่น อำเภอดอยเต่า และเกษตรกรตำบลบ้านตาล อำเภอฮอดร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากการเวนคืนที่ดินเหนือเขื่อนภูมิพลของ กฟผ.
ในการประชุมสภาเกษตรกร สมัยวิสามัญในครั้งนี้ถือได้ว่า สมาชิกทุกท่านได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแก่พี่น้องเกษตรกรโดยตรง ซึ่งตรงตามภารกิจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาเกษตรกรจังหวัด อีกทั้งจะได้เป็นการบูรณาการร่วมกันหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน และราคาลำไยตกต่ำ ที่ถือเป็นปัญหาหลักที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่....กล่าว
วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สภาเกษตรกรเชียงใหม่ได้จัดประชุม สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1/2560 โดยมีนายสมหมาย คำมาสาร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในการประชุม ซึ่งได้แจ้งต่อที่ประชุมทราบพร้อมทั้งพิจารณาร่วมกันตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
เรื่องที่ 1 ประกาศผลการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด
เรื่องที่ 2 การเช่าสถานที่ปฏิบัติงานของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 3 รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติงาน “การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างเป็นระบบจังหวัดเชียงใหม่ และสภาเกษตรกรจังหวัดภาคเหนือ
ในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ กำหนดระยะเวลา 2 วัน โดยแบ่งเป็นการบรรยายให้ความรู้ การนำเสนอปัญหาอุปสรรคในการประสานแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของสภาเกษตรกร 17 จังหวัด และการจัดทำข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ดังนี้
1. วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 เป็นการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
1.1 แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและผู้ยากจน โดยผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.2 แนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดย พ.ต.ท.วิชัย สุวรรณประเสริฐ เลขานุการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม
1.3 กระบวนการไกล่เกลี่ยและการชะลอการบังคับคดี โดยสำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่
1.4 การบริหารจัดการหนี้นอกระบบ ตามนโยบายประชารัฐ โดยนายสุชาติ นิตยพงศ์ชัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการหนี้สินนอกระบบ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
1.5 การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยนายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
1.6 การแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” โดยนายพงศธร ศรีชัย นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาหนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์
และนำเสนอปัญหาอุปสรรคในการประสานแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของสภาเกษตรกร 17 จังหวัดภาคเหนือ
2. วันที่ 20 กรกฎาคม 2560 จัดทำข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรเสนอต่อคณะกรรมการ ดังนี้
- คณะกรรมการประสานการแก้ไขหนี้สินเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีดร.อำนวย ปะติเส ประธานคณะกรรมการประสานการแก้ไขหนี้สินเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับฟังข้อเสนอการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
- คณะกรรมการประสานการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และคณะกรรมการ รับฟังข้อเสนอการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและมีข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร จำนวน 5 เรื่อง ดังต่อไปนี้
1) ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรประเภทกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2) ขอเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2546 ข้อ 6 (ง) เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งผู้กู้ยืมได้นำที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันทำสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อมีพฤติการณ์ว่า สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจะหลุดเป็นของเจ้าหนี้ หรือบุคคลอื่นในที่สุด โดยขอปรับเป็น “เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งผู้กู้ยืมได้นำที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันทำสัญญากู้ยืมเงินเมื่อมีพฤติการณ์ว่า สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจะหลุดเป็นของเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นในที่สุด หรือหนี้จากการกู้ยืมที่ใช้บุคคลค้ำประกันและมีการยึดที่ดินของบุคคลค้ำประกันมาชำระหนี้ดังกล่าว”
3) ขอเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แก้ไขหลักเกณฑ์กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ให้ผู้ค้ำประกันเป็นเสมือนผู้กู้กรณีถูกฟ้องร้องบังคับคดีขายทอดตลาดแล้ว เพื่อให้สามารถได้รับการช่วยเหลือจาก กชก. ได้
4) เสนอให้มีกลไกคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนประจำตำบล เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรระดับตำบล โดยขอให้ยุติธรรมจังหวัด ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยและประสานการแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับตำบล
5) เสนอแผนการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร (อัฐยายซื้อขนมยาย)
เรื่องที่ 4 การบูรณาการระหว่างศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)กับสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 7 การประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 7 การขึ้นทะเบียนสิ่งล่วงล้ำแหล่งน้ำกับกรมเจ้าท่า
เรื่องที่ 8 พิจารณาให้ความเห็นชอบจัดตั้งศูนย์ประสานการแก้ไขหนี้สินของเกษตรกรอย่างเป็นระบบของสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 9 พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตลำไยตกต่ำ ปีการผลิต 2560
เรื่องที่ 10 พิจารณามอบหมายให้สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ประสานเรื่อง เกษตรกรตำบลบ้านแอ่น อำเภอดอยเต่า และเกษตรกรตำบลบ้านตาล อำเภอฮอดร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากการเวนคืนที่ดินเหนือเขื่อนภูมิพลของ กฟผ.
ในการประชุมสภาเกษตรกร สมัยวิสามัญในครั้งนี้ถือได้ว่า สมาชิกทุกท่านได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแก่พี่น้องเกษตรกรโดยตรง ซึ่งตรงตามภารกิจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาเกษตรกรจังหวัด อีกทั้งจะได้เป็นการบูรณาการร่วมกันหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน และราคาลำไยตกต่ำ ที่ถือเป็นปัญหาหลักที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่....กล่าว