กระทรวงเกษตรฯ จับมือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเกษตรฯ จับมือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย บูรณาการร่วมแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่าจังหวัดน่าน
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน ว่า ที่ประชุมเพื่อติดตามตามการแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่า ได้เลือกจังหวัดน่าน เป็นจังหวัดนำร่อง สืบเนื่องจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีทั้ง 4 กระทรวง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่าตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธาน ซึ่งได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องมา 5 ครั้ง มีการลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดน่านและวางกรอบการดำเนินงานร่วมกันทั้ง 4 กระทรวง
ทั้งนี้ จังหวัดน่าน มีพื้นที่ทั้งหมด 7.58 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ 6.058 ล้านไร่ ในพื้นที่ป่านี้เป็นพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ประมาณ 4.394 ล้านไร่ เป็นที่ป่าที่ถูกบุกรุกไปแล้วประมาณ 1.6 ล้านไร่ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวได้รวมถึงพื้นที่ที่ถูกบุกรุกโดยการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 943,000 กว่าไร่ โดยมีเป้าหมายลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่บุกรุกป่า ด้วยการดำเนินการใน 2 พื้นที่ ที่รับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่แรก คือ พื้นที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งมีพื้นที่บุกรุกรวมประมาณ 228,000 ไร่ ส่วนอีกพื้นที่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ โดยทั้ง 2 พื้นที่ดังกล่าว มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์จะมีข้อจำกัดในข้อกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะดำเนินการโดยการลาดตระเวนในพื้นที่ป่าไม้เพื่อไม่ให้มีการขยายการบุกรุกเพิ่มเติม และนำพื้นที่ที่ยึดคืนมาได้มาทำการฟื้นฟูปลูกป่าในพื้นที่นั้นโดยร่วมมือกับชาวบ้าน พร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชาวบ้าน ควบคู่กับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน ว่า ที่ประชุมเพื่อติดตามตามการแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่า ได้เลือกจังหวัดน่าน เป็นจังหวัดนำร่อง สืบเนื่องจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีทั้ง 4 กระทรวง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่าตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธาน ซึ่งได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องมา 5 ครั้ง มีการลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดน่านและวางกรอบการดำเนินงานร่วมกันทั้ง 4 กระทรวง
ทั้งนี้ จังหวัดน่าน มีพื้นที่ทั้งหมด 7.58 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ 6.058 ล้านไร่ ในพื้นที่ป่านี้เป็นพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ประมาณ 4.394 ล้านไร่ เป็นที่ป่าที่ถูกบุกรุกไปแล้วประมาณ 1.6 ล้านไร่ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวได้รวมถึงพื้นที่ที่ถูกบุกรุกโดยการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 943,000 กว่าไร่ โดยมีเป้าหมายลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่บุกรุกป่า ด้วยการดำเนินการใน 2 พื้นที่ ที่รับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่แรก คือ พื้นที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งมีพื้นที่บุกรุกรวมประมาณ 228,000 ไร่ ส่วนอีกพื้นที่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ โดยทั้ง 2 พื้นที่ดังกล่าว มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์จะมีข้อจำกัดในข้อกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะดำเนินการโดยการลาดตระเวนในพื้นที่ป่าไม้เพื่อไม่ให้มีการขยายการบุกรุกเพิ่มเติม และนำพื้นที่ที่ยึดคืนมาได้มาทำการฟื้นฟูปลูกป่าในพื้นที่นั้นโดยร่วมมือกับชาวบ้าน พร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชาวบ้าน ควบคู่กับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ