สภาเกษตรฯกระตุกเตือนเก็บค่าตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน สินค้าเกษตร รายย่อยรับไม่ไหว
สภาเกษตรฯกระตุกเตือนเก็บค่าตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน
สินค้าเกษตร รายย่อยรับไม่ไหว
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เรื่องที่ภาครัฐกำหนดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP)และเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรนั้น ต้องขอให้ภาคราชการทำด้วยความระมัดระวังและรอบคอบเพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมปัญหาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ด้วยช่วงที่ผ่านมาหรือแม้แต่เวลานี้เกษตรกรมีวิกฤตการณ์ด้านพืชผลอยู่แล้วจึงเป็นเรื่องน่าห่วงมาก และเกษตรกรจำนวนน้อยที่ทำการผลิตทางการเกษตรแบบ GAP และเกษตรอินทรีย์จึงควรมุ่งเน้นไปที่การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีความเข้าใจ ตระหนักและเห็นถึงความจำเป็นและดำเนินการผลิตทางการเกษตรในแบบที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานอย่างกว้างขวางก่อน หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดำเนินการในเรื่องการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นมาตรฐานทั่วไปด้าน GAP และเกษตรอินทรีย์ และต้องยอมรับว่าเกษตรกรไทยนั้นมีความหลากหลายมาก เกษตรกรผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่เชื่อว่ามีขีดความสามารถที่จะรองรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ด้วยกำไรจากการประกอบการทั้งจากการส่งออกและการค้าในประเทศก็ตาม แต่ควรจะผ่อนปรนหรือยกเว้นให้กับเกษตรกรรายย่อยที่มีการเพาะปลูกไม่มากนัก เพื่อที่จะได้มีกำลังใจและมีขีดความสามารถในการผลิตเชิงเกษตรอินทรีย์ต่อไปได้ รัฐบาลควรบริการและควรมีงบประมาณดูแลหรือควรใช้มาตรการให้มีระบบการตรวจรับรองแบบมีส่วนร่วมหรือ PGS ที่เกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นักวิชาการ ผู้บริโภค ดำเนินการร่วมกัน เป็นมาตรการทางเลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อย ควบคู่ไปกับระบบการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรโดยภาคเอกชนเพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกร อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ทำหนังสือเสนอข้อคิดเห็นต่อสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ โดยจะติดตามความคืบหน้าต่อไป
ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย
อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์ที่มา : สภาเกษตรกรแห่งชาติ
ประชาสัมพันธ์ : ปชส.สกจ.เชียงใหม่
สินค้าเกษตร รายย่อยรับไม่ไหว
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เรื่องที่ภาครัฐกำหนดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP)และเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรนั้น ต้องขอให้ภาคราชการทำด้วยความระมัดระวังและรอบคอบเพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมปัญหาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ด้วยช่วงที่ผ่านมาหรือแม้แต่เวลานี้เกษตรกรมีวิกฤตการณ์ด้านพืชผลอยู่แล้วจึงเป็นเรื่องน่าห่วงมาก และเกษตรกรจำนวนน้อยที่ทำการผลิตทางการเกษตรแบบ GAP และเกษตรอินทรีย์จึงควรมุ่งเน้นไปที่การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีความเข้าใจ ตระหนักและเห็นถึงความจำเป็นและดำเนินการผลิตทางการเกษตรในแบบที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานอย่างกว้างขวางก่อน หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดำเนินการในเรื่องการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นมาตรฐานทั่วไปด้าน GAP และเกษตรอินทรีย์ และต้องยอมรับว่าเกษตรกรไทยนั้นมีความหลากหลายมาก เกษตรกรผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่เชื่อว่ามีขีดความสามารถที่จะรองรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ด้วยกำไรจากการประกอบการทั้งจากการส่งออกและการค้าในประเทศก็ตาม แต่ควรจะผ่อนปรนหรือยกเว้นให้กับเกษตรกรรายย่อยที่มีการเพาะปลูกไม่มากนัก เพื่อที่จะได้มีกำลังใจและมีขีดความสามารถในการผลิตเชิงเกษตรอินทรีย์ต่อไปได้ รัฐบาลควรบริการและควรมีงบประมาณดูแลหรือควรใช้มาตรการให้มีระบบการตรวจรับรองแบบมีส่วนร่วมหรือ PGS ที่เกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นักวิชาการ ผู้บริโภค ดำเนินการร่วมกัน เป็นมาตรการทางเลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อย ควบคู่ไปกับระบบการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรโดยภาคเอกชนเพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกร อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ทำหนังสือเสนอข้อคิดเห็นต่อสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ โดยจะติดตามความคืบหน้าต่อไป
ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย
อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์ที่มา : สภาเกษตรกรแห่งชาติ
ประชาสัมพันธ์ : ปชส.สกจ.เชียงใหม่