สภาเกษตรฯตระหนักผลกระทบเกษตรกรพื้นที่กว่า 60 จังหวัด จากพรบ.การเดินเรือฯอาจลุกลามเศรษฐกิจและสังคม
สภาเกษตรฯตระหนักผลกระทบเกษตรกรพื้นที่กว่า 60 จังหวัด
จากพรบ.การเดินเรือฯอาจลุกลามเศรษฐกิจและสังคม
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ด้วยพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 )พ.ศ.2560 ของกรมเจ้าท่าได้ออกมาบังคับใช้ ยังผลกระทบกับพี่น้องเกษตรกร ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ผู้อาศัยอยู่ตามริมลำน้ำในแพ เป็นต้น ซึ่งปัญหานี้สภาเกษตรกรฯได้รับการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ทำได้เวลานี้คือได้รวบรวมปัญหาเพื่อรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ โดยสภาเกษตรฯได้ทำบันทึกรายงานไปแล้ว 1 ครั้ง และเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ก็ได้ส่งบันทึกรายงานไปอีก 1 ฉบับ การบังคับใช้พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2560 ในช่วงที่ผ่านมา ตามมาตรา 18 ซึ่งกำหนดให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่สร้างอยู่ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ ที่มีการล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำของแม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ บึง ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย หรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า หรือได้รับอนุญาตแต่ปลูกสร้างไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต จะต้องไปแจ้งกรมเจ้าท่าภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2560 มิฉะนั้นอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 1,000 บาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งต้องระวางโทษปรับรายวันในอัตราวันละไม่เกินตารางเมตรละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝืนคำสั่งของกรมเจ้าท่านั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย จากการคาดการณ์เบื้องต้นมีเกษตรกรพื้นที่ 60 จังหวัด ได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 200,000 ครอบครัว ครอบคลุมทั้งเกษตรกรผู้ทำอาชีพประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่ง สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรซึ่งอาจลุกลามเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคม
จึงได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีถึงแนวทางแก้ปัญหานี้ ได้แก่ การขอนิรโทษกรรมเกษตรกรทั้งหมดที่ไม่ได้ไปขอขึ้นทะเบียนกับกรมเจ้าท่า หรือได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมเจ้าท่าแล้วแต่ไปดำเนินการผิดไปจากที่ได้รับการอนุญาตและให้เกษตรกรไปขึ้นทะเบียนครั้งใหม่กับกรมเจ้าท่า ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี โดยมีการปรับเงื่อนไข หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนสำหรับเกษตรกรให้มีความเหมาะสมไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร และกรณีเกษตรกรรายใดไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนตามพรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 )พ.ศ.2560 ให้ภาครัฐมีมาตรการสนับสนุน เช่น สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อการปรับเปลี่ยนอาชีพ เป็นต้น โดยอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติก็ได้พยายามทำหน้าที่เต็มความสามารถและครบถ้วนที่สุดส่วนผล จะออกมาเป็นประการใดยังไม่อาจทราบได้ อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัดจะยื่นหนังสือแจ้งความเดือดร้อนที่ศูนย์ดำรงธรรมของทุกจังหวัดในวันที่ 6 มิถุนายน 2560 พร้อมกันทั่วประเทศ
ประชาสัมพันธ์ : ปชส.สกจ.เชียงใหม่
จากพรบ.การเดินเรือฯอาจลุกลามเศรษฐกิจและสังคม
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ด้วยพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 )พ.ศ.2560 ของกรมเจ้าท่าได้ออกมาบังคับใช้ ยังผลกระทบกับพี่น้องเกษตรกร ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ผู้อาศัยอยู่ตามริมลำน้ำในแพ เป็นต้น ซึ่งปัญหานี้สภาเกษตรกรฯได้รับการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ทำได้เวลานี้คือได้รวบรวมปัญหาเพื่อรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ โดยสภาเกษตรฯได้ทำบันทึกรายงานไปแล้ว 1 ครั้ง และเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ก็ได้ส่งบันทึกรายงานไปอีก 1 ฉบับ การบังคับใช้พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2560 ในช่วงที่ผ่านมา ตามมาตรา 18 ซึ่งกำหนดให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่สร้างอยู่ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ ที่มีการล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำของแม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ บึง ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย หรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า หรือได้รับอนุญาตแต่ปลูกสร้างไม่เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต จะต้องไปแจ้งกรมเจ้าท่าภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2560 มิฉะนั้นอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 1,000 บาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งต้องระวางโทษปรับรายวันในอัตราวันละไม่เกินตารางเมตรละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝืนคำสั่งของกรมเจ้าท่านั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย จากการคาดการณ์เบื้องต้นมีเกษตรกรพื้นที่ 60 จังหวัด ได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 200,000 ครอบครัว ครอบคลุมทั้งเกษตรกรผู้ทำอาชีพประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่ง สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรซึ่งอาจลุกลามเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคม
จึงได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีถึงแนวทางแก้ปัญหานี้ ได้แก่ การขอนิรโทษกรรมเกษตรกรทั้งหมดที่ไม่ได้ไปขอขึ้นทะเบียนกับกรมเจ้าท่า หรือได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมเจ้าท่าแล้วแต่ไปดำเนินการผิดไปจากที่ได้รับการอนุญาตและให้เกษตรกรไปขึ้นทะเบียนครั้งใหม่กับกรมเจ้าท่า ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี โดยมีการปรับเงื่อนไข หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนสำหรับเกษตรกรให้มีความเหมาะสมไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร และกรณีเกษตรกรรายใดไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนตามพรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 )พ.ศ.2560 ให้ภาครัฐมีมาตรการสนับสนุน เช่น สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อการปรับเปลี่ยนอาชีพ เป็นต้น โดยอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติก็ได้พยายามทำหน้าที่เต็มความสามารถและครบถ้วนที่สุดส่วนผล จะออกมาเป็นประการใดยังไม่อาจทราบได้ อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัดจะยื่นหนังสือแจ้งความเดือดร้อนที่ศูนย์ดำรงธรรมของทุกจังหวัดในวันที่ 6 มิถุนายน 2560 พร้อมกันทั่วประเทศ
ประชาสัมพันธ์ : ปชส.สกจ.เชียงใหม่