“โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม” อ.สารภี จ.เชียงใหม่
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ วาที่ร.ท.บัญชาการ พลชมชื่น สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เขตอำเภอสารภี, นายพิชิต ไชยทา หัวหน้าสำนักงานพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่เป้าหมาย ต.ท่ากว้าง อ.สารภี ซึ่งมีผู้แทนสภาเกษตรกรระดับตำบล เขตอ.สารภี/ผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านของ ต.ท่ากว้าง/เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ เข้าร่วม “โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม”
เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรตำบลด้วยเกษตรกรเอง ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาร่วมกันในรูปแบบของการจัดการตนเอง พัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเกษตร และสร้างเครือข่ายองค์กรเกษตรกร เชื่อมโยง และพัฒนาความร่วมมือในด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด และการบริโภคเพื่อยังชีพระหว่างเครือข่ายองค์กรเกษตรกรกับภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นดำเนินการใน 5 เรื่องหลักให้บังเกิดผล แก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ปัญหาหนี้สิน ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาราคาสินค้าเกษตร เรื่องสวัสดิการเกษตรกร สิทธิเกษตรกรและการไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเริ่มจากกลุ่มขนาดเล็กระดับหมู่บ้าน ตำบล ส่งเสริมให้มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเบื้องต้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะของเกษตรอุตสาหกรรม หรือ SMEs เกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเกษตร
2. จัดตั้งองค์กรเกษตรกรรายสินค้าเกษตรในพื้นที่ตำบลเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นสินค้าเกษตรชนิดใหม่ในพื้นที่หรือพัฒนาแก้ไขสินค้าเกษตรชนิดเดิม และเชื่อมโยงเครือข่าย
3. ปรับปรุงระบบการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรของเกษตรกรในตำบล โดยอาศัยแผนพัฒนาเกษตรกรรม การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต ทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในรูปแบบเกษตรอุตสาหกรรม และ SMEs เกษตร เปลี่ยนแปลงจากเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นเกษตรสมัยใหม่ เน้นบริหารจัดการและเทคโนโลยี สร้างเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ
เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรตำบลด้วยเกษตรกรเอง ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาร่วมกันในรูปแบบของการจัดการตนเอง พัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเกษตร และสร้างเครือข่ายองค์กรเกษตรกร เชื่อมโยง และพัฒนาความร่วมมือในด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด และการบริโภคเพื่อยังชีพระหว่างเครือข่ายองค์กรเกษตรกรกับภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นดำเนินการใน 5 เรื่องหลักให้บังเกิดผล แก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ปัญหาหนี้สิน ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาราคาสินค้าเกษตร เรื่องสวัสดิการเกษตรกร สิทธิเกษตรกรและการไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเริ่มจากกลุ่มขนาดเล็กระดับหมู่บ้าน ตำบล ส่งเสริมให้มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเบื้องต้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะของเกษตรอุตสาหกรรม หรือ SMEs เกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเกษตร
2. จัดตั้งองค์กรเกษตรกรรายสินค้าเกษตรในพื้นที่ตำบลเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นสินค้าเกษตรชนิดใหม่ในพื้นที่หรือพัฒนาแก้ไขสินค้าเกษตรชนิดเดิม และเชื่อมโยงเครือข่าย
3. ปรับปรุงระบบการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรของเกษตรกรในตำบล โดยอาศัยแผนพัฒนาเกษตรกรรม การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต ทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในรูปแบบเกษตรอุตสาหกรรม และ SMEs เกษตร เปลี่ยนแปลงจากเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นเกษตรสมัยใหม่ เน้นบริหารจัดการและเทคโนโลยี สร้างเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ