เตือนภัยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก
กระทรวงเกษตรฯ เตือนภัยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก เฝ้าระวังโรคระบาดในช่วงพายุฝน
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่องค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organization for Animal Health หรือ OIE) รายงานเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2559 ว่า มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง Highly pathogenic avian influenza virus (H5N1) ที่ประเทศเวียดนาม พบ 1 จุด โดยจุดที่พบการเกิดโรค คือ เมืองขันบินดง (Khanh Binh Dong) ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดก่าเมา (CA MAU) ทางตอนใต้ของเวียดนาม เริ่มมีการระบาดตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2559 พบการระบาดในสัตว์ปีกหลังบ้าน ป่วยจำนวน 500 ตัว ตายจำนวน 300 ตัว จากทั้งหมด 800 ตัว และได้มีการทำลายไปแล้ว 500 ตัว และได้มีการฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่พบการติดเชื้อ เฝ้าระวังโรคโดยรอบทั้งในจุดและนอกจุดเกิดโรค
ด้าน นายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากระยะนี้ประเทศไทย ได้เกิดสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ฝนตกหนัก ทำให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังและเปียกชื้นในทุกภาคของประเทศไทย ส่งผลต่อสุขภาพสัตว์โดยตรง ทำให้สัตว์ปีกอ่อนแอ มีภูมิคุ้มกันต่ำลง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ จึงเน้นย้ำให้เกษตรกรให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพสัตว์ปีก เฝ้าระวังทางอาการอย่างใกล้ชิด โดยดูแลการจัดการโรงเรือน ให้มีหลังคาป้องกันฝน ลม ได้เป็นอย่างดี มีวัสดุปูรองโรงเรือน จัดเตรียมน้ำสะอาด อาหารสัตว์ รวมถึงเวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น วิตามิน ให้เพียงพอ นอกจากนี้ ควรทำความสะอาดโรงเรือนและพ่นทำลายเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์มหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก โดยการงดการนำเข้าสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่ จากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคในสัตว์ปีก เข้มงวดการจัดการเพื่อป้องกันโรคเข้าฟาร์ม งดให้บุคคลภายนอกเข้าไปในฟาร์ม หากมีความจำเป็น ต้องเปลี่ยนรองเท้าบูทที่ใช้เฉพาะภายในฟาร์มและเดินผ่านอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนเข้าโรงเรือน หากเป็นโรงเรือนแบบเปิดจะต้องมีตาข่ายป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น นก หนู แมว ฯลฯ ห้ามยานพาหนะทุกชนิดเข้าไปในฟาร์มโดยเด็ดขาด หากมีความจำเป็นต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและเลือกซื้ออาหารสัตว์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ มั่นใจว่าไม่มีความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้ามาในฟาร์ม
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก หากพบเห็นสัตว์ปีกป่วยตายอย่างผิดปกติ โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ อย่านำไปแจกจำหน่าย หรือนำไปประกอบอาหารอย่างเด็ดขาด และสามารถแจ้งเบาะแสให้กับอาสาปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร 0-9630-11946 เพื่อที่ดำเนินการควบคุม ป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายออกไปได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนไม่นำสัตว์ที่ตายโยนทิ้งน้ำ ให้ฝังหรือเผาตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
ข่าวโดย : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่องค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organization for Animal Health หรือ OIE) รายงานเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2559 ว่า มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง Highly pathogenic avian influenza virus (H5N1) ที่ประเทศเวียดนาม พบ 1 จุด โดยจุดที่พบการเกิดโรค คือ เมืองขันบินดง (Khanh Binh Dong) ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดก่าเมา (CA MAU) ทางตอนใต้ของเวียดนาม เริ่มมีการระบาดตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2559 พบการระบาดในสัตว์ปีกหลังบ้าน ป่วยจำนวน 500 ตัว ตายจำนวน 300 ตัว จากทั้งหมด 800 ตัว และได้มีการทำลายไปแล้ว 500 ตัว และได้มีการฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่พบการติดเชื้อ เฝ้าระวังโรคโดยรอบทั้งในจุดและนอกจุดเกิดโรค
ด้าน นายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากระยะนี้ประเทศไทย ได้เกิดสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ฝนตกหนัก ทำให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังและเปียกชื้นในทุกภาคของประเทศไทย ส่งผลต่อสุขภาพสัตว์โดยตรง ทำให้สัตว์ปีกอ่อนแอ มีภูมิคุ้มกันต่ำลง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ จึงเน้นย้ำให้เกษตรกรให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพสัตว์ปีก เฝ้าระวังทางอาการอย่างใกล้ชิด โดยดูแลการจัดการโรงเรือน ให้มีหลังคาป้องกันฝน ลม ได้เป็นอย่างดี มีวัสดุปูรองโรงเรือน จัดเตรียมน้ำสะอาด อาหารสัตว์ รวมถึงเวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น วิตามิน ให้เพียงพอ นอกจากนี้ ควรทำความสะอาดโรงเรือนและพ่นทำลายเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์มหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก โดยการงดการนำเข้าสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่ จากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคในสัตว์ปีก เข้มงวดการจัดการเพื่อป้องกันโรคเข้าฟาร์ม งดให้บุคคลภายนอกเข้าไปในฟาร์ม หากมีความจำเป็น ต้องเปลี่ยนรองเท้าบูทที่ใช้เฉพาะภายในฟาร์มและเดินผ่านอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนเข้าโรงเรือน หากเป็นโรงเรือนแบบเปิดจะต้องมีตาข่ายป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น นก หนู แมว ฯลฯ ห้ามยานพาหนะทุกชนิดเข้าไปในฟาร์มโดยเด็ดขาด หากมีความจำเป็นต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและเลือกซื้ออาหารสัตว์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ มั่นใจว่าไม่มีความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้ามาในฟาร์ม
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก หากพบเห็นสัตว์ปีกป่วยตายอย่างผิดปกติ โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ อย่านำไปแจกจำหน่าย หรือนำไปประกอบอาหารอย่างเด็ดขาด และสามารถแจ้งเบาะแสให้กับอาสาปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร 0-9630-11946 เพื่อที่ดำเนินการควบคุม ป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายออกไปได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนไม่นำสัตว์ที่ตายโยนทิ้งน้ำ ให้ฝังหรือเผาตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
ข่าวโดย : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์