ประชุมการแก้ไขปัญหาและผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 14.00-16.00 น. สำนักงานสภาเกตรกรจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดประชุมการแก้ไขปัญหาและผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายธนพงศ์ แสงแก้ว ประธานกลุ่มกระเทียมและหอมหัวใหญ่ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 2 อาคารศูนย์แสดงสินค้าเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดประชุมหารือเพื่อหามาตรการรองรับเพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตกระเทียมและหอมใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ โดยพิจารณาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
มาตรการแก้ไขปัญหาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่
ด้วยประธานกลุ่มผู้ปลูกกระเทียมและหอมหัวใหญ่ประจำจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยประธานกลุ่มกระเทียมและประธานกลุ่มหอมหัวใหญ่อำเภอแม่แตง ฝาง แม่แจ่ม สะเมิง เชียงดาว แม่วาง และอำเภอไชยปราการ ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ให้จัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือและวางแผนงานในการแก้ไขปัญหากระเทียมและหอมหัวใหญ่ ซึ่งคาดว่าในฤดูกาลนี้จะมีผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ จึงเชิญประธานกลุ่มกระเทียมและประธานกลุ่มหอมหัวใหญ่ ทั้ง 6 อำเภอดังกล่าวมาประชุมหารือและหามาตรการรองรับการแก้ไขปัญหาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีข้อสรุป ดังนี้
1. ปัญหาและอุปสรรคของผลผลิตกระเทียมและผลผลิตหอมหัวใหญ่
1.1 ราคาผลผลิตไม่เป็นธรรม เนื่องจากถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
1.2 แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาปลูกแข่งขัน
1.3 ขาดตลาดในการรับซื้อผลผลิต
1.4 ขาดข้อมูลพื้นฐานด้านการผลิตที่แท้จริง
1.5 ขาดแหล่งเงินทุน
2. แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่
2.1 ระยะสั้น
2.1.1 รวบรวมข้อมูลและจัดทำทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมและหอมหัวใหญ่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนของพื้นที่ปลูก วันเพาะปลูก วันเก็บเกี่ยว และต้นทุน-รายได้
2.1.2 รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระทียมและหอมหัวใหญ่ พร้อมขึ้นทะเบียนกลุ่ม เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2.1.3 พัฒนาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่ตามมาตรฐาน GAP ให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง
2.1.4 กำหนดมาตรการมิให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรกรรมในพื้นที่
2.2 ระยะกลาง
2.2.1 วางแผนการผลิตและแผนความต้องการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เงินทุน และการจำหน่ายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
2.2.3 สร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงตลาดระหว่างสภาเกษตรกรจังหวัดเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า
2.2.4 เชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเกษตรกร/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กับสถาบันการเงินเพื่อสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ
2.2.5 กำหนดระเบียบหลักเกณฑ์โควตาในการรับซื้อกระเทียมและหอมหัวใหญ่ของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการให้ชัดเจน
2.3 ระยะยาว จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนเงินจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เช่น ด้านสินเชื่อปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี ด้านการให้ความรู้และจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน และด้านโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร
มาตรการแก้ไขปัญหาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่
ด้วยประธานกลุ่มผู้ปลูกกระเทียมและหอมหัวใหญ่ประจำจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยประธานกลุ่มกระเทียมและประธานกลุ่มหอมหัวใหญ่อำเภอแม่แตง ฝาง แม่แจ่ม สะเมิง เชียงดาว แม่วาง และอำเภอไชยปราการ ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ให้จัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือและวางแผนงานในการแก้ไขปัญหากระเทียมและหอมหัวใหญ่ ซึ่งคาดว่าในฤดูกาลนี้จะมีผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ จึงเชิญประธานกลุ่มกระเทียมและประธานกลุ่มหอมหัวใหญ่ ทั้ง 6 อำเภอดังกล่าวมาประชุมหารือและหามาตรการรองรับการแก้ไขปัญหาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีข้อสรุป ดังนี้
1. ปัญหาและอุปสรรคของผลผลิตกระเทียมและผลผลิตหอมหัวใหญ่
1.1 ราคาผลผลิตไม่เป็นธรรม เนื่องจากถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
1.2 แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาปลูกแข่งขัน
1.3 ขาดตลาดในการรับซื้อผลผลิต
1.4 ขาดข้อมูลพื้นฐานด้านการผลิตที่แท้จริง
1.5 ขาดแหล่งเงินทุน
2. แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่
2.1 ระยะสั้น
2.1.1 รวบรวมข้อมูลและจัดทำทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมและหอมหัวใหญ่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนของพื้นที่ปลูก วันเพาะปลูก วันเก็บเกี่ยว และต้นทุน-รายได้
2.1.2 รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระทียมและหอมหัวใหญ่ พร้อมขึ้นทะเบียนกลุ่ม เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2.1.3 พัฒนาผลผลิตกระเทียมและหอมหัวใหญ่ตามมาตรฐาน GAP ให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง
2.1.4 กำหนดมาตรการมิให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรกรรมในพื้นที่
2.2 ระยะกลาง
2.2.1 วางแผนการผลิตและแผนความต้องการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เงินทุน และการจำหน่ายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
2.2.3 สร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงตลาดระหว่างสภาเกษตรกรจังหวัดเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า
2.2.4 เชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเกษตรกร/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กับสถาบันการเงินเพื่อสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ
2.2.5 กำหนดระเบียบหลักเกณฑ์โควตาในการรับซื้อกระเทียมและหอมหัวใหญ่ของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการให้ชัดเจน
2.3 ระยะยาว จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนเงินจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เช่น ด้านสินเชื่อปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี ด้านการให้ความรู้และจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน และด้านโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร