Focus Group โลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรม
วันที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 น. นายสมหมาย คำมาสาร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าร่วม “การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น (Focus Group) ครั้งที่ 1” ณ ห้องประชุม 2 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 2 อาคารศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
นางสชลาริน นิลพิฤกษ์ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น (Focus Group) ครั้งที่ 1 กิจกรรมยกระดับโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เกษตรแปรรูป ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม โดยสถาบันอาหาร
การประชุมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรม พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งการวางแผนจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างเป็นระบบ จะมีส่วนช่วยผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการเรื่องต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายจากการขนส่ง ทำให้ทราบจำนวนวัตถุดินในสต็อกว่ามีเพียงพอต่อการผลิตหรือไม่ การสั่งซื้อสอดคล้องกับการผลิต และความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ นอกจากการดูแลเอาใจใส่ในการผลิตของเกษตรกรแล้ว การขนส่งผลผลิตจากพื้นที่ห่างไกลมายังจุดรวบรวมจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง “โลจิสติกส์” ถือเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการและควบคุมการไหลของวัตถุดิบ สินค้า ข้อมูล การเงิน อีกทั้งตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความถูกต้อง ทั้งเวลา คุณภาพ ปริมาณ สถานที่ และต้นทุน หากระบบโลจิสติกส์ดีก็จะสามารถรถลดอัตราความเสียหายแก่ผลผลิตภาคเกษตรได้อย่างแน่นอน
นางสชลาริน นิลพิฤกษ์ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น (Focus Group) ครั้งที่ 1 กิจกรรมยกระดับโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เกษตรแปรรูป ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม โดยสถาบันอาหาร
การประชุมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรม พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งการวางแผนจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างเป็นระบบ จะมีส่วนช่วยผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการเรื่องต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายจากการขนส่ง ทำให้ทราบจำนวนวัตถุดินในสต็อกว่ามีเพียงพอต่อการผลิตหรือไม่ การสั่งซื้อสอดคล้องกับการผลิต และความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ นอกจากการดูแลเอาใจใส่ในการผลิตของเกษตรกรแล้ว การขนส่งผลผลิตจากพื้นที่ห่างไกลมายังจุดรวบรวมจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง “โลจิสติกส์” ถือเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการและควบคุมการไหลของวัตถุดิบ สินค้า ข้อมูล การเงิน อีกทั้งตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความถูกต้อง ทั้งเวลา คุณภาพ ปริมาณ สถานที่ และต้นทุน หากระบบโลจิสติกส์ดีก็จะสามารถรถลดอัตราความเสียหายแก่ผลผลิตภาคเกษตรได้อย่างแน่นอน