03/09/2013
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์และผลการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี ๒๕๕๖ โดยสถานการณ์ผลไม้ ปี ๒๕๕๖ พบว่า ผลไม้ในฤดูกาลมีการกระจุกตัวและออกสู่ตลาดมากในระยะเวลาอันสั้น จำเป็นต้องเตรียมการรองรับในการป้องกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรหากราคาผลผลิตตกต่ำ อีกทั้งปริมาณผลผลิตมากเกินกว่าที่กลไกตลาดปกติสามารถรองรับและกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ได้ทันเวลา ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ได้เตรียมการและดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี ๒๕๕๖ ดังนี้
๑.๑ กำหนดกรอบแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี ๒๕๕๖ เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด เป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการและกำกับดูแลการป้องกันและแก้ไขปัญหาของจังหวัดเป็นอันดับแรก โดยไม่แทรกแซงระบบกลไกตลาดปกติ
๑.๒ เสนอโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี ๒๕๕๖ เพื่อช่วยสนับสนุนระบบกลไกตลาดการดำเนินการของจังหวัด โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร รวม ๔ โครงการ ได้แก่ โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคตะวันออก ปี ๒๕๕๖ โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลิ้นจี่ ปี ๒๕๕๖ โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลำไย ปี ๒๕๕๖ และโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคใต้ ปี ๒๕๕๖
๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีการทบทวนมาตรการต่าง ๆ อย่างครบวงจร เพื่อให้เป็นการพัฒนาระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการวางแผน การผลิต การส่งเสริมและจำหน่าย และเห็นควรเร่งรัดการดำเนินงานภายใต้โครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าการเกษตรที่สำคัญ (Zoning) ตามยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) เพื่อบริหารจัดการพื้นที่และสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจให้ได้สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพิจารณาวางแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ให้เป็นระบบในระยะยาว โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของพื้นที่และความเป็นไปได้ในการกำหนด Zoning ผลไม้ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย การเชื่อมโยงผลผลิตกับความต้องการบริโภคในประเทศและต่างประเทศ และความต้องการของโรงงานแปรรูป ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการในระยะสั้น เพื่อดูแลรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
๑. รับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์และผลการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี ๒๕๕๖ โดยสถานการณ์ผลไม้ ปี ๒๕๕๖ พบว่า ผลไม้ในฤดูกาลมีการกระจุกตัวและออกสู่ตลาดมากในระยะเวลาอันสั้น จำเป็นต้องเตรียมการรองรับในการป้องกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรหากราคาผลผลิตตกต่ำ อีกทั้งปริมาณผลผลิตมากเกินกว่าที่กลไกตลาดปกติสามารถรองรับและกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ได้ทันเวลา ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ได้เตรียมการและดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี ๒๕๕๖ ดังนี้
๑.๑ กำหนดกรอบแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี ๒๕๕๖ เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด เป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการและกำกับดูแลการป้องกันและแก้ไขปัญหาของจังหวัดเป็นอันดับแรก โดยไม่แทรกแซงระบบกลไกตลาดปกติ
๑.๒ เสนอโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี ๒๕๕๖ เพื่อช่วยสนับสนุนระบบกลไกตลาดการดำเนินการของจังหวัด โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร รวม ๔ โครงการ ได้แก่ โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคตะวันออก ปี ๒๕๕๖ โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลิ้นจี่ ปี ๒๕๕๖ โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลำไย ปี ๒๕๕๖ และโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคใต้ ปี ๒๕๕๖
๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีการทบทวนมาตรการต่าง ๆ อย่างครบวงจร เพื่อให้เป็นการพัฒนาระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการวางแผน การผลิต การส่งเสริมและจำหน่าย และเห็นควรเร่งรัดการดำเนินงานภายใต้โครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าการเกษตรที่สำคัญ (Zoning) ตามยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) เพื่อบริหารจัดการพื้นที่และสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจให้ได้สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพิจารณาวางแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ให้เป็นระบบในระยะยาว โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของพื้นที่และความเป็นไปได้ในการกำหนด Zoning ผลไม้ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย การเชื่อมโยงผลผลิตกับความต้องการบริโภคในประเทศและต่างประเทศ และความต้องการของโรงงานแปรรูป ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการในระยะสั้น เพื่อดูแลรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย