03/09/2014
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑ (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ประธานกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑ (ฝ่ายเศรษฐกิจ) เสนอ ดังนี้
๑.๑ เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ในการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี ๒๕๕๗ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลาของโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ เงื่อนไขการดำเนินงาน และงบประมาณ โดยให้ปรับเปลี่ยนข้อเสนอโครงการเพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นตามความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่
๑.๑.๑ วัตถุประสงค์ จากเดิม “เพื่อลดภาระต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีของเกษตรกร” เป็น “เพื่อลดภาระต้นทุนค่าปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร”
๑.๑.๒ ระยะเวลาโครงการฯ แนวทางระยะสั้น จากเดิม “ตุลาคม ๒๕๕๖-พฤษภาคม ๒๕๕๗” เป็น “กันยายน ๒๕๕๖-พฤษภาคม ๒๕๕๗”
๑.๑.๓ การตรวจสอบพื้นที่ปลูกและพื้นที่เปิดกรีดจริงของเกษตรกร จากเดิม “สุ่มตรวจสอบพื้นที่ปลูกและพื้นที่เปิดกรีดยางพาราที่มีอยู่จริงจำนวนร้อยละ ๒๐ จากบัญชีรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรฯ” เป็น “ตรวจสอบพื้นที่ปลูกและพื้นที่เปิดกรีดยางพาราที่มีอยู่จริงทุกแปลง จากบัญชีรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรฯ”
๑.๒ ในส่วนของงบประมาณในการดำเนินงานตามแนวทางระยะสั้น เห็นควรให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๕,๖๒๘.๐๐๙๓ ล้านบาท หากดำเนินการแล้ววงเงินไม่เพียงพอ ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
๑.๓ ให้ กนย. ทำการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และคาดการณ์ราคายางพาราในช่วงที่เหลือของปี เพื่อประกอบการพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเสริมเพิ่มเติมจากแนวทางระยะสั้นและระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางอย่างยั่งยืน
๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการสนับสนุนค่าปุ๋ยให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราควรมีระบบการกำกับดูแล และตรวจสอบการขึ้นทะเบียนอย่างรอบคอบและรัดกุม ตลอดจนควรมีการชี้แจงเกษตรกรชาวสวนยางพาราถึงสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการอย่างชัดเจนและทั่วถึง ควรมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควบคู่ไปด้วย รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงการบริหารจัดการเงินสงเคราะห์การทำสวนยาง (Cess) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ ควรเน้นให้การสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพเป็นหลัก ควรให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานในการลดต้นทุนการผลิตและปริมาณการผลิตอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ โดยบูรณาการองค์ความรู้และงานวิจัยและพัฒนาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อเร่งปรับระบบการผลิตยางพาราของไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์การผลิตและการตลาดยางพาราโลก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
๓. เพื่อให้หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกันว่า การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในข้อ ๑ เป็นแนวทางการดำเนินการที่มีความเหมาะสมและจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว จึงให้ฝ่ายเลขานุการ กนย. นำมติคณะรัฐมนตรีเรื่องนี้รายงานต่อที่ประชุม กนย. ว่าเป็นการดำเนินการที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่แล้ว โดยหากจะพิจารณามาตรการเพิ่มเติม ก็ให้ กนย. พิจารณาแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
๑. เห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑ (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ประธานกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑ (ฝ่ายเศรษฐกิจ) เสนอ ดังนี้
๑.๑ เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ในการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี ๒๕๕๗ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลาของโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ เงื่อนไขการดำเนินงาน และงบประมาณ โดยให้ปรับเปลี่ยนข้อเสนอโครงการเพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นตามความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่
๑.๑.๑ วัตถุประสงค์ จากเดิม “เพื่อลดภาระต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีของเกษตรกร” เป็น “เพื่อลดภาระต้นทุนค่าปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร”
๑.๑.๒ ระยะเวลาโครงการฯ แนวทางระยะสั้น จากเดิม “ตุลาคม ๒๕๕๖-พฤษภาคม ๒๕๕๗” เป็น “กันยายน ๒๕๕๖-พฤษภาคม ๒๕๕๗”
๑.๑.๓ การตรวจสอบพื้นที่ปลูกและพื้นที่เปิดกรีดจริงของเกษตรกร จากเดิม “สุ่มตรวจสอบพื้นที่ปลูกและพื้นที่เปิดกรีดยางพาราที่มีอยู่จริงจำนวนร้อยละ ๒๐ จากบัญชีรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรฯ” เป็น “ตรวจสอบพื้นที่ปลูกและพื้นที่เปิดกรีดยางพาราที่มีอยู่จริงทุกแปลง จากบัญชีรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรฯ”
๑.๒ ในส่วนของงบประมาณในการดำเนินงานตามแนวทางระยะสั้น เห็นควรให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๕,๖๒๘.๐๐๙๓ ล้านบาท หากดำเนินการแล้ววงเงินไม่เพียงพอ ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
๑.๓ ให้ กนย. ทำการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และคาดการณ์ราคายางพาราในช่วงที่เหลือของปี เพื่อประกอบการพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเสริมเพิ่มเติมจากแนวทางระยะสั้นและระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางอย่างยั่งยืน
๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการสนับสนุนค่าปุ๋ยให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราควรมีระบบการกำกับดูแล และตรวจสอบการขึ้นทะเบียนอย่างรอบคอบและรัดกุม ตลอดจนควรมีการชี้แจงเกษตรกรชาวสวนยางพาราถึงสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการอย่างชัดเจนและทั่วถึง ควรมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควบคู่ไปด้วย รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงการบริหารจัดการเงินสงเคราะห์การทำสวนยาง (Cess) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ ควรเน้นให้การสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพเป็นหลัก ควรให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานในการลดต้นทุนการผลิตและปริมาณการผลิตอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ โดยบูรณาการองค์ความรู้และงานวิจัยและพัฒนาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อเร่งปรับระบบการผลิตยางพาราของไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์การผลิตและการตลาดยางพาราโลก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
๓. เพื่อให้หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกันว่า การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในข้อ ๑ เป็นแนวทางการดำเนินการที่มีความเหมาะสมและจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว จึงให้ฝ่ายเลขานุการ กนย. นำมติคณะรัฐมนตรีเรื่องนี้รายงานต่อที่ประชุม กนย. ว่าเป็นการดำเนินการที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่แล้ว โดยหากจะพิจารณามาตรการเพิ่มเติม ก็ให้ กนย. พิจารณาแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป