24/09/2013
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๖ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. การแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและข้อร้องเรียน
๑.๑ ให้กระทรวงพลังงานผลักดันการใช้ไบโอดีเซล (B100) และ BHD ให้เป็นไปตามเป้าหมายแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกร้อยละ ๒๕ ใน ๑๐ ปี รวมถึงการใช้เพื่อทดแทนน้ำมันเตาของโรงไฟฟ้ากระบี่ ในสัดส่วนร้อยละ ๑๐ อย่างต่อเนื่อง
๑.๒ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิและอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และต้องการเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มและราคาผลปาล์มตกต่ำ ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖ ให้เกษตรกรทำหนังสือแจ้งต่อฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อรวบรวมและเสนอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาต่อไป
๑.๓ การขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร จากเดิมไม่เกิน ๕๐ ไร่ เป็นไม่เกิน ๘๐ ไร่ โดยให้ความช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริง แต่ไม่เกิน ๕๐ ไร่
การขยายระยะเวลาโครงการฯ ให้คณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการตลาดพิจารณา และนำเสนอ กนป. ต่อไป
๒. ร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี ๒๕๕๗-๒๕๖๔
๒.๑ ให้กรรมการพิจารณาให้ความเห็น/ข้อเสนอต่อร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี ๒๕๕๗-๒๕๖๔ และส่งให้ฝ่ายเลขานุการฯ ภายใน ๒ สัปดาห์
๒.๒ ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกรรมการและให้ปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ รวมทั้งจัดทำแผนงาน/โครงการ งบประมาณ และเสนอ กนป. เพื่อพิจารณาภายใน ๖ สัปดาห์
๓. การเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศ
๓.๑ เห็นชอบให้เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (World Trade Trade Organization : WTO) ปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ ตามข้อผูกพันคือ ปริมาณในโควตา ๔,๘๖๐ ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ ๒๐ นอกโควตาร้อยละ ๑๔๓ และการบริหารการนำเข้าให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันเป็นผู้จัดสรร
๓.๒ เห็นชอบให้เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) และ (Free Trade Area : FTA) ปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ ตามข้อผูกพันของทุกกรอบการค้า และให้บริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับ WTO คือ ให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันเป็นผู้จัดสรร
๑. การแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและข้อร้องเรียน
๑.๑ ให้กระทรวงพลังงานผลักดันการใช้ไบโอดีเซล (B100) และ BHD ให้เป็นไปตามเป้าหมายแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกร้อยละ ๒๕ ใน ๑๐ ปี รวมถึงการใช้เพื่อทดแทนน้ำมันเตาของโรงไฟฟ้ากระบี่ ในสัดส่วนร้อยละ ๑๐ อย่างต่อเนื่อง
๑.๒ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิและอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และต้องการเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มและราคาผลปาล์มตกต่ำ ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖ ให้เกษตรกรทำหนังสือแจ้งต่อฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อรวบรวมและเสนอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาต่อไป
๑.๓ การขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร จากเดิมไม่เกิน ๕๐ ไร่ เป็นไม่เกิน ๘๐ ไร่ โดยให้ความช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริง แต่ไม่เกิน ๕๐ ไร่
การขยายระยะเวลาโครงการฯ ให้คณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการตลาดพิจารณา และนำเสนอ กนป. ต่อไป
๒. ร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี ๒๕๕๗-๒๕๖๔
๒.๑ ให้กรรมการพิจารณาให้ความเห็น/ข้อเสนอต่อร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี ๒๕๕๗-๒๕๖๔ และส่งให้ฝ่ายเลขานุการฯ ภายใน ๒ สัปดาห์
๒.๒ ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกรรมการและให้ปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ รวมทั้งจัดทำแผนงาน/โครงการ งบประมาณ และเสนอ กนป. เพื่อพิจารณาภายใน ๖ สัปดาห์
๓. การเปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศ
๓.๑ เห็นชอบให้เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (World Trade Trade Organization : WTO) ปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ ตามข้อผูกพันคือ ปริมาณในโควตา ๔,๘๖๐ ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ ๒๐ นอกโควตาร้อยละ ๑๔๓ และการบริหารการนำเข้าให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันเป็นผู้จัดสรร
๓.๒ เห็นชอบให้เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) และ (Free Trade Area : FTA) ปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ ตามข้อผูกพันของทุกกรอบการค้า และให้บริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับ WTO คือ ให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันเป็นผู้จัดสรร