สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่  ตั้งอยู่ที่  อาคารศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือ  เลขที่ 230  หมู่1  ตำบลช้างเผือก  อำเภอเมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่  50300  โทรศัพท์ 0 5207 2711-2  
ประชุมสภาฯครั้งที่6/2559

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2559 เวลา 09.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 2 ภายในอาคารศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือ
ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สภาเกษตรกรเชียงใหม่ได้จัดประชุม สมัยสามัญ ครั้งที่ 6/2559 โดยมีนายสมหมาย คำมาสาร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในการประชุม ซึ่งประธานฯได้แจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
เรื่องที่ 1 ร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 6/2559 เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของคณะกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 2 ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินทุนพัฒนาสหกรณ์ ครั้งที่ 1/2559 เพื่อพิจารณาเงินกู้ กพส. จำนวน 3 แห่ง และรับฟังรายงานการแก้ปัญหาลูกหนี้ผิดนัดเงินกู้ กพส. 6 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เรื่องที่ 3 ร่วมประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเกษตรกรรมและงบประมาณ ครั้งที่ 1/2560 เพื่อพิจารณาการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 และพิจารณาโครงการตามยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรจังหวัดแห่งชาติ ปี 2560 – 2564 พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานในอำนาจหน้าที่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ 4 ร่วมสัมมนางานพืชสวนก้าวหน้าครั้งที่ 14 (HORTEX 2016) เพื่อนำเสนอวิทยาการใหม่ๆเกี่ยวกับการผลิตและการจัดการพืชสวนในภาวะปัจจุบัน ทั้งด้านการผลิต การตลาด ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีทางเลือกในการผลิตที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2559 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
เรื่องที่ 5 ร่วมประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2559 เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด และติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมติของสภาเกษตรกรแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 – 20 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ ชั้น 8 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ 6 ร่วมการสัมมนา “Mini MOC กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค” และการเปิดตัวพาณิชย์ภาค (Mini MOC )ของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อรับฟังนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค และสื่อสารถ่ายทอดทิศทางในการดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างการรับรู้และความเข้าใจในการดำเนินนโยบายพาณิชย์ภาค รวมทั้งเชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน จังหวัดเชียงใหม่

ผลการดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติในการช่วยเหลือเกษตรกรปลูกพืชกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง) ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการนำเข้าข้าวสาลีของผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ จากแนวทางการไก้ไขปัญหาของคณะรัฐมนตรี ได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ประเด็นที่ 12 เรื่องการบริหารจัดการการนำเข้าวัตถุดิบอื่นทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามแนวทางที่สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอดังนี้ 
1. กำหนดให้ข้าวสาลีตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 10001.99.90 เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าข้าวสาลีนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) และมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ และกรมการค้าภายใน ร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางการปฏิบัติและกำกับดูแลการนำเข้าข้าวสาลี ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ
2. ให้กรมปศุสัตว์ทบทวนสูตรการผลิตอาหารสัตว์ที่นำข้าวสาลีมาใช้เป็นวัตถุดิบหลัก เนื่องจากการนำเข้าข้าวสาลีมาใช้ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสินค้าเกษตรอื่น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์ และอาจเกิดโรคระบาดในสัตว์ พร้อมทั้งให้กรมศุลกากร และกรมปศุสัตว์ เข้มงวดการนำเข้าข้าวสาลีตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) เนื่องจากข้าวสารลีมีการนำเข้าจากต่างประเทศอาจมีสารอะฟลาทอกซิน และสารกัมมันตภาพรังสีตกค้าง อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ของไทย
3. กำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลี ต่อการับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ในอัตราส่วน 1 : 3 (นำเข้าข้าวสาลี 100 ตัน รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 300 ตัน) โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าข้าวสาลีนำเข้ามาเพื่อการผลิตอาหารสัตว์ ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.)
4. ตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ เสนอขอให้เพิ่มเติมผู้แทนจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ในคณะทำงานวางแผน การตลาด วัตถุดิบอาหารสัตว์ครบวงจร ปี 2559 นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ได้เสนอเรื่องต่อกรมการค้าภายใน เพื่อพิจารณาต่อไปเรียบร้อยแล้ว

พิจารณาคัดเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่เป็นคณะทำงานของสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คณะ ประกอบด้วย
คณะทำงานที่ ๑ การพัฒนายุทธศาสตร์ การวิจัยและกิจการสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
คณะทำงานที่ 2 การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรด้านพืช
คณะทำงานที่ 3 การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรด้านปศุสัตว์และประมง
คณะทำงานที่ 4 การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรด้านดิน น้ำ และปัจจัยการผลิต
คณะทำงานที่ 5 การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรด้านการรวมกลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกรยุวเกษตรกร สวัสดิการและการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
จากนั้นได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุมอย่างเข้มข้น ได้เนื้อหาครบถ้วน

Copyright 2014, สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่.
All rights are reserved. Read Privacy Policy. Created by Chiangmai Webdesign